ยังโอเคมั้ย? ถ้าจู่ๆ ก็ ‘Bore out’ หมดใจกับสิ่งที่เคยชอบทำ

HEALTHY LIFESTYLE

ยังโอเคมั้ย? ถ้าจู่ๆ ก็ ‘Bore out’ หมดใจกับสิ่งที่เคยชอบทำ

ยังโอเคมั้ย? ถ้าจู่ๆ ก็ ‘Bore out’ หมดใจกับสิ่งที่เคยชอบทำ

เราคนนี้ในวันนั้นอาจไม่เป็นเหมือนเดิมในวันนี้ เมื่อก่อนวันเสาร์คนเหงามารวมตัวกันปาร์ตี้คือที่สุด เดี๋ยวนี้แค่ได้นอนดูซีรีส์อยู่บ้านกลับมีความสุขมากกว่า เคยขลุกอยู่กับกองหนังสือได้เป็นวันๆ เดี๋ยวนี้ฟังคนสรุปหนังสือมาเล่าในยูทูปกลับเพลินกว่า ไม่กี่ปีก่อนเอนจอยมากกับการเดินช้อปปิ้งตามห้าง ตอนนี้รอกดโค้ดส่วนลดตอนต้นเดือนรู้สึกมันส์กว่าซะงั้น พอได้มาลองนึกย้อนดูแล้ววิถีชีวิตเราเปลี่ยนไปโดยไม่รู้ตัว เป็นเพราะความสุขของเราเปลี่ยนไป หรือเราเองที่เบื่อหน่ายกับไลฟ์สไตล์เดิมกันแน่นะ

ต้องมีอะไรผิดพลาดตรงไหน ถึงทำไลฟ์สไตล์เราเปลี่ยนไป!

จริงๆ แล้วที่พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งก็เพราะเทคโนโลยีที่หมุนเร็วแบบก้าวกระโดด ทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งการช้อปปิ้งออนไลน์ การประชุมออนไลน์ การใช้ ChatGPT ช่วยหาข้อมูล ส่งผลให้พฤติกรรมของเราเริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ ‘การแพร่ระบาดของโควิด’ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปแบบเห็นได้ชัดเจน ส่งผลทั้งกับการทำงาน การใช้ชีวิต ความคิดและความรู้สึกด้วยเช่นกัน

เพราะ ‘โควิด’ หรือเปล่า ที่กระตุ้นให้เราเบื่อหน่ายมากขึ้น?

จากการสำรวจของมหาวิทยาลัย Southern California พบว่าการแพร่ระบาดของโควิดเป็นตัวกระตุ้นให้บุคลิก พฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของคนเปลี่ยนไปใน 5 มิติด้วยกัน ทั้งความไม่มั่นคงทางอารมณ์หรือความวิตกกังวล (Neuroticism), การเปิดตัวหรือการชอบเข้าสังคม (Extraversion), การเปิดรับประสบการณ์หรือความคิดสร้างสรรค์ (Openess), ความเป็นมิตรหรือความเชื่อใจ (Agreeable), และการมีจิตสำนึกหรือความรับผิดชอบ (Conscientiousness) บางคนเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง แต่หลายคนก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความไม่มั่นคงทางอารมณ์ บางคนเติบโตขึ้นเพราะต้องรับผิดชอบงานที่มากขึ้น ได้มองเห็นความไม่แน่นอนในชีวิต ในทางกลับกันบางคนรู้สึกเครียดและเบื่อหน่าย อะไรที่คุ้นชินก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ ส่งผลให้กลายเป็น ‘ความเบื่อหน่าย’ (Boredom) ที่เกิดได้กับทุกวัยและไม่จำกัดเพศ


ทำไมจู่ๆ ก็หมดใจกลายเป็น ‘Bore out’ ไปซะงั้น

เพราะความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นอาจเรียกว่าเป็นภาวะ ‘Bore out’ ได้เหมือนกัน ในช่วงโควิดที่ผ่านมาหลายคนไม่ได้ทำกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำจนขาดความต่อเนื่องและไม่อยากทำต่อไปอีกแล้ว หาอย่างอื่นทำแล้วรู้สึกแฮปปี้กว่า หรือทำตอนช่วงโควิดบ่อยจนรู้สึกเบื่อ ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่เคยชอบ จากที่เคยออกไปเต้นรั่วๆ คืนวันหยุด หรือออกไปเดินช้อปปิ้งหลังเงินเดือนออก ตอนนี้ไม่ได้มีความกระตือรือร้นที่จะออกไปทำสิ่งเดิมแล้ว ถึงแม้ว่าเคยชอบกิจกรรมเหล่านั้นมากแค่ไหนก็ตาม ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้นะ ทำได้…แต่จะต้องปลุกพลังและใช้เอเนอจี้มากหน่อยเท่านั้นเอง ซึ่งการที่เรารู้สึกเบื่อหน่ายและแสดงพฤติกรรมออกมาแบบนี้ เป็นเพราะกลไกของสมองส่งสัญญาณให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายนั่นเอง

ไม่ผิดเลยที่จะหมดใจกับสิ่งที่เคยชอบ เพราะทำอย่างอื่นจอยกว่านี่นา!

James Danckert และ John D Eastwood นักจิตวิทยาได้อธิบายถึง ‘ความเบื่อหน่าย’ ว่าเป็นกระบวนการของสมองที่ส่งสัญญาณเตือนให้รู้ตัวว่า ‘ตอนนี้เราไม่ได้รู้สึกสนใจในสิ่งที่ทำอยู่อีกต่อไปแล้ว’ คือจริง ๆ มีความสุขนะแต่แค่ไม่ได้สุขเท่าเดิม สมองเลยสั่งให้หากิจกรรมอื่นที่สร้างความสุขใหม่มาแทน นี่เลยทำให้ความชอบของเราเปลี่ยนไปนั่นเอง เช่น เบื่อแล้วอยู่บ้านเล่นเกมส์ เดี๋ยวนี้เต้นในติ๊กต็อกจอยกว่า เดี๋ยวนี้ปลูกต้นไม้เลี้ยงปลาก็ยังไม่หายเครียด เปลี่ยนชุดไปลองทำอาหารทานเองแบบง่ายๆ พอสมองสั่งให้ร่างกายทำกิจกรรมใหม่ มีเป้าหมายใหม่ สิ่งเร้าใหม่ๆ มากระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น ก็ทำให้อารมณ์เบื่อหน่ายค่อยๆ อันตรธานหายไปได้ เพราะเราเปลี่ยนกิจวัตร (Routine) ของชีวิตให้มีสีสันและไม่ซ้ำจำเจไปแล้ว


‘ความเบื่อ’ ไม่ได้แย่เสมอไปหรอกนะ

ถ้ามองในอีกมุมนึงความเบื่อที่เกิดขึ้นไม่ได้แย่เสมอไป เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้และบางครั้งกลับเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่จะทำให้เราเห็นศักยภาพและคุณค่าของตัวเองมากขึ้น จากการได้ลองออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ลองออกกำลังกาย ไปว่ายน้ำ ไปถ่ายรูปเล่น ตั้งแคมป์แบบขำๆ กับเพื่อน หรือแม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างการออกไปปั่นจักรยานรอบหมู่บ้าน ให้ความแฮปปี้ของการได้ลองสิ่งใหม่ๆ มาช่วยเติมไฟให้หัวใจ และอาจจะช่วยให้ได้รู้ว่าตัวแม่ตัวมัมอย่างเรายังมีมุมเจ๋งๆ ที่ไม่เคยได้สัมผัสอยู่อีกเพียบ!

แต่ถ้ารู้สึกเบื่อหน่ายจนไร้เรี่ยวแรง ขาดสมาธิ กินไม่ได้นอนไม่หลับ รู้สึกไร้คุณค่าติดต่อกันมากกว่า 2 อาทิตย์ การออกไปใช้เวลากับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัว เพื่อช่วยเยียวยาความรู้สึกเหล่านี้ ก็เป็นไอเดียที่ดีและไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหรอกนะ

แต่ถ้ารู้สึกเบื่อหน่ายจนไร้เรี่ยวแรง ขาดสมาธิ กินไม่ได้นอนไม่หลับ รู้สึกไร้คุณค่าติดต่อกันมากกว่า 2 อาทิตย์ การออกไปใช้เวลากับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัว เพื่อช่วยเยียวยาความรู้สึกเหล่านี้ ก็เป็นไอเดียที่ดีและไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหรอกนะ

รีเฟรชความรู้สึกดาวน์ ด้วยอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าคนที่กินอาหารมีประโยชน์หลากหลายครบ 5 หมู่และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จะสามารถจัดการอารมณ์ความรู้สึกไม่ให้ดาวน์ได้ดียิ่งขึ้น เพราะสารต้านอนุมูลอิสระมีส่วนช่วยในการลดการถูกทำลายหรือการอักเสบของสมอง และยังช่วยให้สมองทำงานได้ตามปกตินั่นเอง ซึ่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่พบได้บ่อยเลยคือผักผลไม้สีเขียว แดง เหลือง หรือส้ม เช่น บรอคโคลี่ มะเขือเทศ บีทรูท แครอท เป็นต้น แต่เธอคือตัวมัม ตัวแม่! ก็ต้องเลือกอะไรที่ง่ายและสะดวก เลือกดื่มยูนิฟ 100% น้ำผักผลรวมรสชาติต่างๆ ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุชนิดต่างๆ และที่สำคัญคือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วย

‘ไม่เป็นไรเลยนะที่จะรู้สึกเบื่อกับสิ่งที่ชอบ แต่อย่าปล่อยให้ตัวเองหมดไฟจนไม่มีแรงลุกไปทำในสิ่งที่อยากทำซะก่อน ถ้าเจอสิ่งที่ทำแล้วแฮปปี้มากกว่าก็ลุยเลย! น้องแคร์ยูเป็นกำลังใจให้น้า’

น้องแคร์ยู

ขอบคุณที่อ่านเรื่องราวสุขภาพ

ENJOY WITH
UNIF FAMILY

เครื่องดื่มยูนิฟแบบไหนที่ใช่คุณ

Unif Online shop

เติมแต้มสุขภาพได้แล้ววันนี้ พร้อมเลือกดูโปรโมชั่น
ที่ Unif Online Shop บน Online Marketplace

ดูโปรโมชั่นทั้งหมด

Reviews
from health member

รีวิวจากสมาชิกเฮลท์คลับ

UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET

you may want
to read this

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แชร์เรื่องราว รับ      40 U-Points