ลดน้ำหนักไม่ลง เพราะต่อมไทรอยด์ผิดปกติอยู่หรือเปล่า ?

HEALTHY LIFESTYLE

ลดน้ำหนักไม่ลง เพราะต่อมไทรอยด์ผิดปกติอยู่หรือเปล่า ?

ลดน้ำหนักไม่ลง เพราะต่อมไทรอยด์ผิดปกติอยู่หรือเปล่า ?

เชื่อว่ามีหลายคนที่เขียน Goal ปี 2022 ไว้ตัวโตๆ ว่าจะต้องดูแลสุขภาพให้ดี ลดน้ำหนักให้ได้ ... ซึ่งจะหมดปีแล้ว ใครทำสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้แล้วบ้างน้า? หากใครที่รู้สึกว่าลองลดน้ำหนักแล้วแต่ก็ยังไม่สำเร็จซักที ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ตาม ทั้งลดแป้ง เน้นผัก กินแต่อกไก่เป็นหลัก หรือออกกำลังกายหนักจนท้อ ก็อาจเป็นไปได้ว่าสาเหตุของการลดน้ำหนักไม่สำเร็จ อาจจะไม่ได้มาจากพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แต่อาจอยู่ที่ ‘ระบบเผาผลาญของร่างกาย’ กำลังทำงานไม่ปกติอยู่ก็ได้นะ



ระบบเผาผลาญไม่ดี...ก็ยิ่งลดน้ำหนักได้ยากนะ !

เพราะระบบเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism) คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยเผาผลาญพลังงานและแคลอรี่ที่เรากินเข้าไปในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้มีการสะสมจนกลายเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งการที่ระบบการเผาผลาญจะทำงานได้ดีนั้นก็จำเป็นต้องพึ่งพาฮอร์โมนมาเป็นตัวช่วยในการควบคุมน้ำตาลและการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ช่วยดึงน้ำตาลที่อยู่ในเลือดเข้าไปในเซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญเป็นพลังงาน และฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid) ที่ช่วยกระตุ้นและควบคุมการเผาผลาญพลังงานโดยตรง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี เช่น

  • อายุที่มากขึ้นทำให้ประสิทธิภาพในการเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แก่แล้วลดน้ำหนักยากเป็นเรื่องจริง ไม่จ้อจี้!
  • ตัวเล็กปุ๊กปิ๊กทำให้มีกล้ามเนื้อน้อย เมื่อมีกล้ามเนื้อน้อยก็จะเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่าคนตัวใหญ่ที่มีกล้ามเนื้อเยอะ เพราะกล้ามเนื้อมีส่วนในการนำพลังงานไปใช้ด้วยเหมือนกัน
  • น้ำหนักสวิงจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีบ่อยๆ อาจทำให้ระบบการเผาผลาญรวนได้
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือมีภาวะไทรอยด์ต่ำแฝงก็มักจะเป็นปัญหาของการลดน้ำหนักที่เจอได้เหมือนกัน
“ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง” สาเหตุที่ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผลดั่งใจ

ต้องบอกก่อนว่าต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณคอ ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย โดยเรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ เกี่ยวกับโรคต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป (Hyperthyroidism) จนทำให้ผอม หรือทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) จนทำให้อ้วน แต่ยังมีอีกหนึ่งภาวะที่ไม่ได้ถึงขั้นเป็นโรคแต่เรียกว่า “ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง” (Subclinical Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ทำให้ลดน้ำหนักยากหรือลดไม่ลง เพราะต่อมไทรอยด์ทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายเลยไม่สามารถเผาผลาญพลังงานได้อย่างเต็มที่ส่งผลให้น้ำหนักไม่ลงแม้ว่าจะกินอาหารน้อยแล้วก็ตาม ซึ่งต้นตอสาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ต่ำแฝงนั้นก็เกิดได้จากหลายอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากจนเกินไป การขาดสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ หรือความเครียดสะสมเรื่อรัง (Chronic Stress) ในกลุ่มของคนทำงาน ก็มีส่วนทำให้มีภาวะไทรอยด์แฝงได้เหมือนกัน



สังเกตให้ดี คุณกำลังมีภาวะไทรอยด์แฝงหรือเปล่า!

นอกจากเรื่องของการลดน้ำหนักไม่ค่อยลงแล้ว ยังมีอาการที่สังเกตอื่นๆ ได้อีก เช่น

  • คิดช้า เฉื่อยชา สมองตื้อ
  • ผิวแห้ง
  • ออกกำลังกาย แต่ไม่ค่อยมีเหงื่อ
  • ขี้หนาว
  • ผมและเล็บเปราะบาง
  • น้ำหนักขึ้นไวและลดยากกว่าปกติ
ถ้าดูแลตัวเองได้ดี...ไทรอยด์ต่ำแฝงก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

แม้ว่า ‘ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง’ เป็นเพียงภาวะทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากใครมีอาการตามเช็กลิสต์อย่างชัดเจนก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดูแลอย่างตรงจุดจะดีที่สุด ส่วนใครที่รู้สึกอยากบูสต์ระบบการเผาผลาญและเพิ่มการทำงานให้กับต่อมไทรอยด์แบบเบื้องต้น วันนี้เรามี 4 เทคนิคสุดง่ายมาให้คุณได้ลองหยิบไปใช้กันแบบชิลๆ

1. เริ่มต้นง่ายๆ จากการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยปรับการทำงานของต่อมไทรอยด์และระบบเผาผลาญในร่างกายได้ แต่สำหรับใครที่ต้องนั่งทำงานออฟฟิศทั้งวันและไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย ให้ลองเพิ่มการเดินและหาจังหวะเดินยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยรู้มั้ยว่าการเดินให้ได้วันละ 7,499 ก้าว นั้นเทียบเท่ากับการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันได้เลยทีเดียวนะ

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็สำคัญ

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะไปกระตุ้นให้ร่างกายมีความอยากอาหารมากขึ้น พลังงานและไขมันจะสะสมมากขึ้นจนทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก และยังทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลง เพราะฉะนั้นการนอนหลับให้เพียงพอจึงสำคัญมากกับการลดน้ำหนักและควบคุมระบบเผาผลาญ เพราะโกรทฮอร์โมนที่หลั่งออกมาตอนนอนจะช่วยซ่อมแซมร่างกาย ช่วยให้ระบบการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ตามปกติและยังช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ตามปกติด้วยเหมือนกัน

3. หมั่นเติมไอโอดีนให้เพียงพอ

โดยในฮอร์โมนไทรอยด์จะประกอบไปด้วยไอโอดีน (Iodine) และเซเลเนียม (Selenium) แร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จะทำงานกันเป็นทีม ไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ให้ทำงานปกติ และยังทำให้การทำงานของระบบการเผาผลาญดีตามไปด้วย ดังนั้นการกินอาหารที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุไอโอดีนและเซเลเนียมจะช่วยลดภาวะไทรอยด์ต่ำแฝงได้ โดยในแต่ละวันเราควรได้รับไอโอดีนอย่างน้อยวันละ 150 ไมโครกรัม แต่ทุกคนไม่ต้องกังวลไปว่าต้องไปหาเกลือสินเธาว์มากินเลยหรือเปล่าถึงจะได้ไอโอดีนแบบเต็มๆ เพราะอาหารทั่วไปที่เรากินนี่แหละก็มีแร่ธาตุทั้งสองอย่างนี้เยอะอยู่แล้วเช่น -อาหารทะเลอย่าง กุ้ง หอย ปู ปลา ปริมาณ 100 กรัม มีไอโอดีนประมาณ 50-90 ไมโครกรัม -ไข่และเนื้อสัตว์ ปริมาณ 100 กรัม มีไอโอดีนประมาณ 50-60 ไมโครกรัม -สาหร่าย ปริมาณ 100 กรัม มีไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม

4. เสริมวิตามินบี 6 หรือบี 12 โดยวิตามินบี 6 หรือบี 12

มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ หรือลองหาวิตามินเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากินร่วมด้วยก็ได้จะช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานตามปกติได้เร็วมากขึ้น สายอาหารเสริมอาจเลือกทานจากวิตามินเพิ่มเติมก็ได้ หรือใครที่อยากรับวิตามินจากอาหารรอบตัวแบบง่ายๆ อาจลองเพิ่มเป็นการทานนมไขมันต่ำ ไข่ เนื้อวัว ปลาทูน่า ธัญพืช หรือพวกถั่วชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็ได้เช่นกันนะ


นอกจากนี้ถ้าใครที่กำลังสงสัยว่า เอ๊ะ! หรือที่เราลดน้ำหนักไม่ได้จริงๆ สักทีเพราะมีภาวะไทรอยด์ต่ำแฝงอยู่หรือเปล่า แนะนำให้ลองหาแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีที่มีลิสต์รายการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์กันดูก็ได้นะ เพราะนอกจากจะได้เช็กสุขภาพประจำปีแล้วยังได้ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะได้หายคาใจสักทีว่าที่น้ำหนักไม่ลงเพราะอะไรกันแน่

“ ลดน้ำหนักมานานจนท้อ ทำทุกวิถีทางก็ยังไม่ลงสักที ลองหันมาสังเกตตัวเองดูหน่อยนะว่ามีอาการคล้ายภาวะไทรอยด์ต่ำแฝงอยู่มั้ยนะ หรือลองไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงดูก็ได้ จะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด แต่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปซะก่อนน้า ”

น้องแคร์ยู

ขอบคุณที่อ่านเรื่องราวสุขภาพ

ENJOY WITH
UNIF FAMILY

เครื่องดื่มยูนิฟแบบไหนที่ใช่คุณ

Unif Online shop

เติมแต้มสุขภาพได้แล้ววันนี้ พร้อมเลือกดูโปรโมชั่น
ที่ Unif Online Shop บน Online Marketplace

ดูโปรโมชั่นทั้งหมด

Reviews
from health member

รีวิวจากสมาชิกเฮลท์คลับ

UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET

you may want
to read this

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แชร์เรื่องราว รับ      40 U-Points