แค่ชอบเที่ยวหรือเป็นโรคเสพติดการเที่ยวกันแน่นะ !?

HEALTHY LIFESTYLE

แค่ชอบเที่ยวหรือเป็นโรคเสพติดการเที่ยวกันแน่นะ !?

แค่ชอบเที่ยวหรือเป็นโรคเสพติดการเที่ยวกันแน่นะ !?

ความรู้สึกหลังจากที่หลายประเทศเปิดให้ไปเที่ยวได้แบบเสรีอีกครั้งหลังการล็อคดาวน์ช่วงโควิด เหมือนเปิดประตูห้างตอนที่มีของเซลล์ช่วงปลายปี ทุกคนต่างก็รู้สึกอัดอั้นอยากจะกลับไปใช้ชีวิตไปเที่ยวอย่างอิสระแบบเดิมจนกลายเป็น Post Covid Revenge Travel หรือเรียกสั้นๆ ว่า Revenge Travel เที่ยวล้างแค้น เที่ยวให้หนำใจ เที่ยวให้สาสมกับที่ต้องอยู่บ้านล็อคดาวน์ไม่ได้ไปไหนเป็นปี มีการสำรวจชาวอเมริกันกว่า 2,000 คนที่ได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมาก็มีความรู้สึกเหมือนกันกับพวกเรานี่แหละว่าต้องการ ‘เที่ยวล้างแค้น’ และกำลังมีแพลนที่จะเที่ยวมากขึ้นในปี 2023 นี้ด้วย 

แน่นอนว่าความอยากไปท่องเที่ยวดูโลกกว้างไม่ได้ผิดอะไร ถ้าเราวางแผนการทำงานและเก็บเงินไว้ใช้สำหรับการท่องเที่ยวมาเป็นอย่างดีแล้ว เพราะการเที่ยวจะช่วยเยียวยาจิตใจ ผ่อนคลายความเครียด เผลอๆ อาจจะกลับมาแล้วมีไฟคิดงานได้ดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ แต่บางคนกลับเที่ยวแบบปล่อยใจจนลืมดูเงินในกระเป๋าอาจจะช็อตได้แบบไม่รู้ตัว แบบนี้ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาเรียกว่า ‘เสพติดการเที่ยว’ หรือ Dromomania

คนที่เสพติดการเที่ยวมีมาตั้งนานแล้ว…ไม่ใช่เพิ่งมี

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอาจไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้คนยุคปัจจุบันเสพติดการเที่ยว เพราะจริงๆ แล้วโรคเสพติดการเที่ยวมีมาตั้งแต่เมื่อ 200 กว่าปีก่อน โดยชายคนแรกที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเสพติดการเที่ยวในช่วงศตวรรษที่ 18 คือ อัลเบิร์ต ดาดาส ผู้ทิ้งชีวิตทุกอย่างเอาไว้ข้างหลังแล้วเริ่มต้นออกเดินทางด้วยการ ‘เดิน’ ไปทั่วยุโรปจนสุดท้ายมาจบที่ฝรั่งเศส และในช่วงศตวรรษที่ 19 โรค Dromomania ก็เป็นที่รู้จักมากขึ้นแต่มักจะถูกใช้กับทาสเป็นหลัก เพราะในสมัยนั้นทาสจำเป็นต้องเดินทางด้วยเท้า และในผู้ที่ต้องการหลุดพ้นจากการเป็นทาสก็จะต้องเดินทางหนีไปเรื่อยๆ แบบไร้จุดหมาย

เพราะควบคุมไม่ได้เลยกลายเป็นการ “เสพติด” ไปแล้ว

คำว่า ‘เสพติดการเที่ยว’ อาจเป็นคำที่เราคุ้นหูกันดีอยู่แล้ว แต่เราอาจไม่เคยได้พูดถึงคำนี้ในเชิงวิชาการสักเท่าไหร่ เพราะหลายคนไม่คิดว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นปัญหาทางจิตและความผิดปกติในการควบคุมสิ่งกระตุ้นรอบตัว เรียกว่าเป็นการ “เสพติด” ที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีใดๆ เลย โดยนักจิตวิทยาเรียกโรคนี้ว่า Dromomania คำว่า Dromos เป็นรากศัพท์ภาษากรีกที่แปลว่า ‘วิ่ง’ ส่วนคำว่า Mania ก็เป็นรากศัพท์มาจากคำว่า ‘การเสพติด’ บางสิ่งบางอย่างหรือความคลั่งไคล้อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในทางที่ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น Dromomania จึงหมายถึงคนที่เสพติดการเดินทางเที่ยวจนขาดสติ ไม่ใส่ใจการทำงาน อยากจะเที่ยวอย่างเดียว เพิ่งกลับจากเที่ยวไม่ทันไรก็แพลนเที่ยวทริปใหม่อีกแล้ว แถมยังละเลยคนในครอบครัวสังคมและเพื่อนรอบข้างอีกด้วย

ซึ่งปัจจุบันคนรุ่น Gen X ไปจนถึง Gen Z มีโซเชียลมีเดียมาคอยกระตุ้นให้อยากโพสต์รูปอวดสถานที่ท่องเที่ยวชิคๆ ให้เพื่อนติดตามกัน จะเห็นว่าหลายคนลงรูปเที่ยวบ่อยซะเหลือเกิน จนบางครั้งก็นึกว่าเสพติดการเที่ยวไปซะแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ชอบเที่ยวจะเข้าข่ายโรคเสพติดการเที่ยวไปหมด อาจจะต้องปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่นการเที่ยวของเราส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือชีวิตครอบครัวหรือเปล่า?



ลองเช็กกันดูหน่อยนี่เราเสพติดการเที่ยวอยู่หรือเปล่า?

การออกเดินทางเที่ยวไม่เคยเป็นปัญหาเลย กลับกันจะทำให้มีความสุขและพร้อมกลับมาทำงานได้เต็มที่มากขึ้นด้วยซ้ำ แต่สำหรับใครที่เริ่มสงสัยว่าเราอาจเข้าข่าย มาเช็กลิสต์กันหน่อยดีกว่าว่าคุณกำลังเสพติดการเที่ยวอยู่หรือเปล่า

- จัดกระเป๋าพร้อมออกเดินทางตลอดเวลา

- แพลนทริปท่องเที่ยวมีแน่นมากกว่างานในหัวซะอีก

- ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับการท่องเที่ยว

- เศร้าใจจุกอกแบบบอกไม่ถูกหลังกลับมาจากเที่ยว

- สุขและสนุกทุกครั้งที่ได้นอนที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านตัวเอง

- รู้สึกแปลกๆ ที่ต้องอยู่บ้านในวันหยุด

- เข้าแอปท่องเที่ยวบ่อยกว่าแอปธนาคาร

- นอนไม่หลับถ้าไม่ได้ยินสัญญาณการเดินทาง เช่น เสียงรถยนต์ รถไฟหรือเครื่องบิน

เอ๊ะ... ถ้าเกิดชอบเที่ยวจริงๆ ล่ะจะต้องทำยังไง?

ต่อมเอ๊ะเริ่มทำงานนี่เราเป็นกำลังเสพติดการเที่ยวอยู่หรือเปล่า เพราะก็ติ๊กถูกหลายข้ออยู่เหมือนกัน แต่ไม่ต้องกังวลไปหากเรายังสามารถเมเนจการท่องเที่ยวได้แบบไม่เสียการเสียงาน แถมการไปเที่ยวแต่ละครั้งก็ต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างประกอบกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินและเวลา แต่ถ้าเริ่มรู้ตัวก่อน ก็รีบปรับตัวก่อนได้เลย

1. แพลนเที่ยวอย่างมีสติ

ใครที่ลองเช็กลิสต์แล้วรู้สึกกังวลใจเบาๆ เพราะมีแพลนเที่ยวในหัวเยอะแยะมากมายหรือการมีความรู้สึกหดหู่หน่อยๆ หลังกลับมาจากทริปเที่ยวเพราะยังเที่ยวไม่หนำใจ ยังไม่สาสมกับการทำงานเหนื่อยมาทั้งปีก็เป็นได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราไม่ข้ามไปถึงขั้นเสพติดการเที่ยวนั่นก็คือ ‘สติ’ และการเรียงลำดับความสำคัญของงาน เงินและเวลา ถ้าชอบการท่องเที่ยวมากจริงๆ อาจจะต้องลองแพลนเที่ยวทริปสั้นๆ ใกล้ๆ ช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์เดือนละครั้งก่อน แล้วจัดสรรเวลาและเงินเป็นทริปใหญ่ต่างประเทศอาจจะปีละ 1-2 ครั้งก็น่าจะเพียงพอให้ร่างกายได้รีชาร์จพลังงานและความคิดให้กลับมาสู้งานได้แล้ว

2. ทำ VLOG ท่องเที่ยวไปเลยดีมั้ย

เพราะการท่องเที่ยวมีอะไรมากกว่าการได้ไปพักผ่อนหย่อนใจ เราอาจแชร์เรื่องราวความสนุกของทุกทริปให้คนอื่นๆ ได้เหมือนกัน เพราะเรามันเป็น Explorer อยู่แล้ว ชอบลองไปสถานที่แปลกใหม่ ลองถ่าย Vlog หรือเปิดช่อง YouTube ให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลยว่าการเที่ยวที่เป็นงานอดิเรกของเรา ก็มีคุณค่าและมีประโยชน์กับคนอื่นเหมือนกันนะ

3. ปรึกษาแพทย์เลยดีกว่า

เรื่องน่าห่วงของการเสพติดการเที่ยวคือ การเที่ยวที่ส่งผลกระทบกับชีวิตส่วนตัวและคนรอบข้าง ถ้าหยุดเที่ยวไม่ได้เหมือนขาดใจ นอนไม่หลับกระสับกระส่ายเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องนอนอยู่บ้านในช่วงวันหยุด ไม่ว่าจะจัดการตัวเองด้วยวิธีไหนใจก็ยังโหยหากับการท่องเที่ยวอยู่ดี ท้ายที่สุดอยากให้ลองปรึกษาจิตแพทย์ดูเพื่อรับคำแนะนำในการจัดการความคิดและทัศนคติการใช้ชีวิตให้มีความสุขแบบไม่ต้องยึดติดกับการท่องเที่ยว เพื่อจะได้แฮปปี้กับการใช้ชีวิตมากขึ้น

ทำงานเหนื่อยมาทั้งปีแล้ว แคร์ยูอยากให้ทุกคนเคลียร์งาน แล้วจัดทริปเที่ยวพักผ่อน ปล่อยจอยให้สมองโล่งๆ รีเฟรชตัวเองกันสักหน่อย ชาร์จแบตตัวเองให้เต็มก่อนกลับมาลุยงานต่อในปีหน้าให้เต็มที่น้าาาา

น้องแคร์ยู

ขอบคุณที่อ่านเรื่องราวสุขภาพ

ENJOY WITH
UNIF FAMILY

เครื่องดื่มยูนิฟแบบไหนที่ใช่คุณ

Unif Online shop

เติมแต้มสุขภาพได้แล้ววันนี้ พร้อมเลือกดูโปรโมชั่น
ที่ Unif Online Shop บน Online Marketplace

ดูโปรโมชั่นทั้งหมด

Reviews
from health member

รีวิวจากสมาชิกเฮลท์คลับ

UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET

you may want
to read this

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แชร์เรื่องราว รับ      40 U-Points