“ติดบ้านไม่อยากไปโรงเรียน” ความเครียดใหม่ของเด็กเล็ก GEN โควิด

mom & kid

“ติดบ้านไม่อยากไปโรงเรียน” ความเครียดใหม่ของเด็กเล็ก GEN โควิด

“ติดบ้านไม่อยากไปโรงเรียน” ความเครียดใหม่ของเด็กเล็ก GEN โควิด

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง การใช้ชีวิตเริ่มกลับเข้าที่เข้าทางมากขึ้น แต่สิ่งที่มาพร้อมกับสถานการณ์ที่ดีขึ้นคือความท้าทายใหม่ของการใช้ชีวิตแบบ New Normal ไม่ใช่แค่คุณพ่อคุณแม่วัยทำงานที่ต้องปรับตัวอย่างเดียว ลูกๆ GEN ใหม่ก็ต้องปรับตัวไม่ต่างกัน การไปเรียนที่โรงเรียนกลับไม่ใช่เรื่องที่สนุกเหมือนเดิม เด็กๆ ต้องเตรียมร่างกายให้แข็งแรงและเตรียมใจให้พร้อมกับสังคมแบบใหม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องรับบทบาทเป็นทั้งพ่อแม่และครูแนะแนวที่จะช่วยให้ลูกแฮปปี้มีความสุขกับการเรียนแบบเดิมที่ไม่เหมือนเดิม รับมือและเตรียมความพร้อมให้กับลูกน้อยวัยเรียนให้กลับไปโรงเรียนได้อย่างมีความสุข


โรงเรียนอาจ “ไม่ดีต่อใจ” กับเด็ก GEN ใหม่ยุคหลังโควิด

แม้ว่าเด็กหลายคนอยากกลับไปโรงเรียน ไปเจอเพื่อน เข้าสังคม ทำกิจกรรมร่วมกัน แต่สำหรับเด็กเล็กบางคนอาจไม่ได้อยากกลับไปเรียนที่โรงเรียนเพราะรู้สึกว่าการอยู่บ้านนั้นเป็น ‘เซฟโซน’ สำหรับเขามากกว่า การได้อยู่ใกล้พ่อแม่ทำให้เขามีความสุขมากกว่าการกลับไปเจอเพื่อน แม้ว่าการเรียนออนไลน์อาจทำให้เด็กหลายคนเครียดมากขึ้น แต่การเรียนที่บ้านทำให้เด็กเล็กสบายใจและทำให้ติดบ้านมากขึ้น ฉะนั้นการไปเรียนซึ่งต้องเคร่งเรื่องสุขอนามัย การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากตลอดเวลาขณะอยู่ในโรงเรียน อาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดและไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้น นอกจากนี้การที่เด็กเล็กไม่อยากไปโรงเรียนอาจเป็นเพราะกลัวโดน “บูลลี่” เพราะการติดโควิดสำหรับเด็กอาจเป็นเรื่องที่ทำให้โดนล้อเลียน รู้สึกผิดกลัวทำให้เพื่อนๆ ติดโควิดตามไปด้วย

อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกับจิตใจและส่งผลให้เด็กไม่มีความสุขทางอ้อมคือ “พฤติกรรมของพ่อแม่” เมื่อความเครียดและแรงกดดันของพ่อแม่ที่ต้องเผชิญจากการทำงานหนักหน่วงในช่วงโควิด ก็ส่งผลกับความสัมพันธ์และพฤติกรรมของพ่อแม่ที่แสดงออกกับลูกเช่นกัน ทำให้ลูกรู้สึกเครียดและไม่มีความสุขตามไปด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ออกมาเป็นคำพูดก็ตาม ฉะนั้นพ่อแม่จึงต้องสังเกตพฤติกรรมลูกมากขึ้นเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องรู้เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

1.) เช้าวันจันทร์ทีไรเป็นต้องร้องไห้ทุกครั้ง ลูกเล็กเริ่มจะร้องไห้งอแงไม่อยากไปโรงเรียนและไม่ยอมลุกจากที่นอน ไม่ว่าจะติดกระดุมเสื้อหรือผูกเชือกรองเท้าก็จะร้องไห้ไปทำไป ในเด็กบางคนถึงกับกอดขาเกาะแขนคุณพ่อคุณแม่เมื่อเท้าแตะพื้นโรงเรียน

2.) เหตุผลร้อยแปดกับการไม่ไปโรงเรียน ลูกเล็กบางคนก็มีข้ออ้างต่างๆ นานา ปวดหัวบ้างแหละ ปวดท้องตุ่ยๆ รู้สึกไม่สบาย กลัวติดโควิด กลัวโดนครูตี คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตให้ดีเรื่องไหนจริงเรื่องจ้อจี้ แค่อ้างไม่อยากไปโรงเรียนเท่านั้น หรือถ้าเป็นสาเหตุอื่นก็ต้องพูดคุยทำความเข้าใจ และแก้ปัญหาไปด้วยกัน

3.) อยากอยู่เงียบๆ คนเดียว ลูกคุณอาจจะไม่ใช่สายร้องไห้กระจองอแง แต่เป็นสายเก็บความรู้สึกไม่บอกใคร ทำให้ลูกเล็กแสดงพฤติกรรมเก็บตัวไม่เข้าสังคม แม้จะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่พฤติกรรมเงียบไม่ค่อยพูดกับคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงสีหน้าท่าทางและอารมณ์ก็บอกได้แล้วว่าลูกไม่พอใจหรือเครียดกับอะไรบางอย่าง เพราะการไปโรงเรียนไม่ได้มีความสุขขนาดนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตให้ดี ลูกอาจไม่ได้เป็นในทุกวัน แต่ถ้าเป็นซ้ำวันเดิมทุกสัปดาห์ต้องเช็กแล้วว่า ที่โรงเรียนวันนั้นลูกต้องเจอกับอะไร เพื่อนในคลาสที่ชอบแกล้ง ครูวิชาพละที่แสนโหดหรือเปล่า ที่ทำให้ลูกเราไม่อยากไปโรงเรียน

4.) อารมณ์บ่จอย เมื่อเด็กไม่มีความสุขก็มักจะแสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัดเจน นอกจากร้องไห้แล้วการที่เด็กอารมณ์เสีย เจ้าอารมณ์ กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิก็เป็นอีกหนึ่งมู้ดที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ แต่ต้องเช็กให้ดีว่าอารมณ์ไม่ดีจากอะไรเช่น กลับมาจากโรงเรียนแล้วอารมณ์ร้อน ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสแต่กลับอารมณ์ร้ายแทน หรือก่อนไปโรงเรียนก็มีอาการหงุดหงิด งอแงก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกคุณกำลังเผชิญกับสิ่งที่ทำให้ไม่มีความสุขที่โรงเรียน



3 เทคนิค บิ้วท์ให้ลูกอยากกลับไปโรงเรียนอีกครั้ง!

1. สร้างความเข้าใจ ลองใช้เวลากับลูกเพื่ออธิบายถึงข้อดีของการไปโรงเรียน พูดให้เห็นเป็นภาพชัดเจนว่าการไปโรงเรียนลูกจะได้ทำกิจกรรมอะไรสนุกบ้าง ลองหานิทานหรือการ์ตูนที่เกี่ยวข้องกับการไปโรงเรียน จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าเด็กคนอื่นๆ ก็มีหน้าที่ที่จะต้องไปโรงเรียน รวมทั้งยังมีเรื่องสนุกและน่าสนใจที่โรงเรียนอีกมากมาย

2. สร้างความสนุกสนาน ด้วยการให้ลูกมีส่วนร่วมในการเตรียมสิ่งของไปโรงเรียนเช่น จัดกระเป๋า ชุดเครื่องเขียน เสื้อผ้าที่จะใส่ไปเรียน ช่วยกันคิดเมนูอาหารเช้าล่วงหน้า หรือให้รางวัลหากลูกไปโรงเรียนครบ 1 สัปดาห์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และแฮปปี้กับการไปโรงเรียนมากขึ้น

3. สร้างความมั่นใจ เพราะเวลาที่ลูกต้องไปโรงเรียนก่อนแยกจากกันเขาจะรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง ฉะนั้นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอันขาดคือการ “หนี” แต่ควรให้เวลากับการ “กอด” สร้างความมั่นใจ การบอกรัก และให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับมารับเมื่อไหร่ เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจและมั่นใจมากขึ้น หากลูกมีตุ๊กตาที่รักมากเป็นพิเศษพกใส่กระเป๋าสร้างความสบายใจ เผื่อไว้คลายเหงาได้เหมือนกัน

“กำลังใจ” เป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งเด็กอาจยังไม่เก็ตกับสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป เราจึงไม่ควรเร่งรัดพัฒนาการและผลการเรียนของลูก ลองปรับเป็นการให้กำลังใจเมื่อเห็นลูกพยายามหรือเริ่มปรับตัวได้ และร่วมแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน วิธีนี้จะช่วยให้ลูกมีกำลังใจและมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น เมื่อลูกมีความสุขกับการเรียนและมีกำลังใจที่ดีแล้ว การเรียนรู้ให้ทันเพื่อนอาจไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่อย่ายอมแพ้และค่อยๆ ปรับตัวกันไป

เลี้ยงลูกเจนโควิดถึงเหนื่อยหน่อย แต่แคร์ยูเชื่อว่าทุกคนทำได้! แค่ต้องเข้าใจเค้าให้มากขึ้น ให้กำลังใจเค้าให้เยอะๆ ให้ลูกเชื่อว่าไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไร เค้าก็จะผ่านมันไปได้เสมอเลย!

น้องแคร์ยู

แฮชแท็ก : แม่และเด็ก HOW TO

ขอบคุณที่อ่านเรื่องราวสุขภาพ

ENJOY WITH
UNIF FAMILY

เครื่องดื่มยูนิฟแบบไหนที่ใช่คุณ

Unif Online shop

เติมแต้มสุขภาพได้แล้ววันนี้ พร้อมเลือกดูโปรโมชั่น
ที่ Unif Online Shop บน Online Marketplace

ดูโปรโมชั่นทั้งหมด

Reviews
from health member

รีวิวจากสมาชิกเฮลท์คลับ

UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET

you may want
to read this

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แชร์เรื่องราว รับ      40 U-Points