ไม่ต้องดูดีแบบใคร อย่าทำร้ายจิตใจด้วยการเปรียบเทียบกับคนอื่น

health & beauty

ไม่ต้องดูดีแบบใคร อย่าทำร้ายจิตใจด้วยการเปรียบเทียบกับคนอื่น

ไม่ต้องดูดีแบบใคร อย่าทำร้ายจิตใจด้วยการเปรียบเทียบกับคนอื่น

ถ้าฉันรวยจะสวยให้ดู... รับรองเลิศหรูอย่างนางสาวไทย เพลงคุ้นหูที่ได้ยินทีไรแล้วก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงค่านิยมของคนไทยที่อยากมีรูปร่างหน้าตาสวยหล่อ ดูดีมีออร่า ยิ่งหน้าตาดีมากเท่าไหร่คนยิ่งให้แสงให้คุณค่า กลายเป็นอภิสิทธิ์จากความสวยหล่อ (Beauty Privilege) ถูกเลือกปฏิบัติและสร้างความไม่เท่าเทียมขึ้นในสังคม สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้หลายคนหมกมุ่นกับรูปลักษณ์ภายนอก หลงใหลไปกับรูปร่างหน้าตาที่ต้องสวยจึ้ง จนเกิดเป็นความรู้สึกไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ผิวไม่เนียน เขียนคิ้วไม่สวย ไม่มีใครอวย จนไม่สามารถมองตัวเองในแง่บวกได้เลย กลายเป็นความเครียด วิตกกังวล ไม่อยากเจอหน้าใครเพราะรู้สึกไม่มั่นใจ สุดท้ายอาจลงเอยด้วยอาการซึมเศร้า ลองสำรวจความรู้สึกตัวเองให้ดีว่าหมกมุ่นและรู้สึกไม่พอใจกับรูปร่างหน้าตาตัวเองมากแค่ไหน บางทีความเครียดวิตกกังวลไม่พอใจมากๆ อาจนำไปสู่อาการป่วยทางจิตอย่างนึงที่เรียกว่า ‘Body Dysmorphia Disorder’ หรือ โรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาตัวเอง


เมื่อความสวยหล่อเป็นปัญหาระดับชาติ

BDD หรือโรคคิดหมกมุ่นกับคุณค่าในรูปลักษณ์ของตัวเอง ยังไม่สวยพอ ยังไม่เป๊ะพอ ยังไม่ดีพอ และไม่ใช่แค่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่ดูจะรักสวยรักงาม ผู้ชายเองก็เป็นกันมากด้วยเหมือนกัน ความกังวลหน้าตา กรามไม่ชัด กล้ามไม่ใหญ่พอ ตัวบาง เกินไป ตัวเล็กไปหน่อย หลายคนกังวลจนลงทุนไปทำศัลยกรรมหรือบางครั้งทำศัลยกรรมแล้วก็ยังไม่พอใจจนติดการทำศัลยกรรมไปเลยก็มี อาการคิดซ้ำๆ วนไปวนมา ไม่พอใจบ่อยเข้าก็เกิดเป็นพฤติกรรมทำซ้ำเช่น ส่องกระจกบ่อย แต่งหน้านาน หวีผมทั้งวัน พฤติกรรมของโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มของโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) แต่ไม่ต้องรีบพับกระจกบนโต๊ะทำงานเก็บนะ เพราะอาการเหล่านี้ถ้าไม่ได้เป็นบ่อยเฉลี่ย 3-8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ได้ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันจนไม่เป็นอันทำงานหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็ไม่นับว่าเป็นโรคนี้ซะทีเดียว


นิยามความสวยหล่อคืออะไรกันแน่?

ผมยาวสลวยหรือผมสั้นเฉี่ยว กล้ามปูดูแข็งแรงหรือกล้ามเล็กสมส่วน ผิวขาวอมชมพูหรือผิวแทนสีน้ำผึ้ง ไม่มีใครสามารถฟันธงได้หรอกว่าแบบไหนถึงเรียกว่าสวยหล่อตามมาตรฐาน (Beauty Standard) เพราะทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเอง เปลี่ยนไปมาได้ตามสิ่งที่เรากำลังเชื่อ มาตรฐานความสวยหล่อก็เช่นกันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพียงแต่ค่านิยมความสวยหล่อมักจะถูกยกมาชวนให้คิดและเชื่อตามสื่อโฆษณา ดารารูปร่างดีรูปลักษณ์เริ่ด ยูทูปเบอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์หน้าตาดีที่คอยป้อนข้อมูลสินค้าและหัตการความงามต่างๆ นี่แหละที่กำลังทำให้เราไขว้เขว หน้าฉันต้องสวยต้องเริ่ดต้องปังแบบนี้ใช่มั้ย ต้องเอวบางร่างน้อยแบบนี้หรือเปล่า ต้องประโคมเสื้อผ้าแบรนด์เนมหรือเปล่าถึงจะดูดีเข้าสังคมได้ ด้วยความกดดันจากสังคมแบบนี้หรือเปล่านะที่ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจกับรูปร่างและไม่ชอบตัวเองสักที รู้สึกขาดความมั่นใจทุกครั้งที่จะต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน บางทีรูปร่างหน้าตาแบบที่เราใฝ่ฝันอาจไม่ใช่คำตอบหรือจุดจบของปัญหาเสมอไป ‘การรู้จักและยอมรับความสวยงามในรูปแบบของตัวเอง’ อาจเป็นคำตอบของโจทย์ที่เรากำลังกังวลอยู่ก็ได้


ถึงเวลาแล้วที่จะหันมารู้จักและรักตัวเองจริงๆ สักที

เราไม่รู้หรอกว่าจริงๆ แล้วมาตรฐานความสวยหล่ออยู่ตรงไหน เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะดูดีและเป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับทุกคนตลอดเวลา รวมถึงตัวเราเองด้วย เมื่อลองส่องกระจกดูแล้วยังรู้สึกไม่พอใจกับรูปร่างหน้าตาตัวเอง สุดท้ายแล้วเราต้องมองตัวเองในด้านบวกและยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง เพราะความงามเป็นเรื่องปัจเจก

Body Positivity ลองมองตัวเองในด้านบวกดูบ้าง เหมือนที่ปัจจุบันมีการพูดถึง Real Size Beauty ไม่ว่าจะน้ำหนักแค่ไหนมีรูปร่างแบบใดก็สวยในแบบของตัวเอง ตัวใหญ่ไหล่กว้างแล้วยังไงใส่เสื้อผ้าแล้วดูดีมีสไตล์ แก้มสูงหน้าทรงเหลี่ยมแล้วยังไงชิคเก๋ไม่เหมือนใคร แต่งหน้าแล้วเฉี่ยวเฟียซได้ใจสุดๆ เพราะฉะนั้นการมองรูปร่างหน้าตาตัวเองในด้านบวกไม่ใช่การหลงตัวเอง แต่เป็นการรักตัวเองในรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าจะไม่เพอร์เฟกต์แต่ก็มีด้านดีที่ทำให้เรารู้สึกมั่นใจในตัวเองขึ้นมา เพราะทุกคนดูดีได้ในแบบของตัวเอง

Body Neutrality ยอมรับตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็นนั่นแหละดีที่สุด ศัลยกรรมทำไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกยังไม่สุดและไม่รู้ว่าจะไปหยุดที่ตรงไหน จะดีกว่ามั้ยถ้ารู้จักยอมรับรูปร่างหน้าตาตัวเองที่เป็นแบบนี้ เปลี่ยนมุมการมองตัวเองและยอมรับเพื่อให้มีความสุขมากขึ้น แม้ว่าจะมีพุงน้อยๆ ยื่นออกมาแต่ก็ต้องยอมรับว่าพุงนี้แหละที่คลอดคนที่มาเติมเต็มความสุขให้กับครอบครัว ปากไม่สวยเป็นกระจับแต่ก็ยอมรับเลยว่าปากเรียบๆ ของเรานี่แหละที่คอยขายงานเรียกทรัพย์ให้มีเงินไปเที่ยวต่างประเทศได้ทุกปี เพราะฉะนั้นแล้วการรู้จักและยอมรับตัวเองนี่แหละนอกจากจะช่วยให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้วยังช่วยให้ใช้ชีวิตได้แฮปปี้มากขึ้นด้วย

นอกจากการดูแลสุขภาพจิตใจ ฝึกสมองให้มองตัวเองในแง่บวกแล้วก็ต้องไม่ลืมเสริมความมั่นใจให้กับตัวเองด้วย ยูนิฟ โพรไฟเบอร์ มีโพรไบโอติกส์ที่จะเข้าไปเสริมจุลินทรีย์ตัวดีให้กับลำไส้ ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ปรับสมดุลลำไส้และเสริมภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้จุลินทรีย์ตัวดียังช่วยสร้างสารเซโรโทนิน หรือแฮปปี้ฮอร์โมนที่ช่วยทำให้ทำให้อารมณ์ดี เพิ่มความคิดด้านบวก ลดอาการวิตกกังวลได้ด้วย และมีกากใยอาหารสูงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ลดปัญหาท้องผูก ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด เท่านี้ก็ช่วยให้สุขภาพดี รูปร่างดีได้ไม่ต้องมีดีกรีสวมมงกุฎเลย

“ไม่ต้องวิ่งตามมาตรฐานความงามของใครให้ตัวเองเหนื่อยเลย ลองทำความรู้จักและรักตัวเองให้เป็น แค่นี้ก็เรียกความมั่นใจมาได้เต็มร้อยแล้วนะ”

น้องแคร์ยู

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/body-positivity-vs-body-neutrality-5184565

https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2023/feb/10/beauty-writer-on-how-she-finally-stopped-feeling-ugly-anita-bhagwandas

https://www.rama.mahidol.ac.th

แฮชแท็ก : BeautyStandard Selfesteem

ขอบคุณที่อ่านเรื่องราวสุขภาพ

ENJOY WITH
UNIF FAMILY

เครื่องดื่มยูนิฟแบบไหนที่ใช่คุณ

Unif Online shop

เติมแต้มสุขภาพได้แล้ววันนี้ พร้อมเลือกดูโปรโมชั่น
ที่ Unif Online Shop บน Online Marketplace

ดูโปรโมชั่นทั้งหมด

Reviews
from health member

รีวิวจากสมาชิกเฮลท์คลับ

UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET UNIF HEALTH WALLET

you may want
to read this

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แชร์เรื่องราว รับ      40 U-Points